Home » สป.อว. สวทช. จับมือสมาคมเครื่องจักรกลไทย ร่วมวิจัยพัฒนาเครื่องจักรในกลุ่มเกษตร และอุตสาหกรรม

สป.อว. สวทช. จับมือสมาคมเครื่องจักรกลไทย ร่วมวิจัยพัฒนาเครื่องจักรในกลุ่มเกษตร และอุตสาหกรรม

by thmachinery
0 comment

          สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ (สป.อว.) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (หรือ MTEC สวทช.) ให้การสนับสนุนเงินทุนและการบริหารจัดการ “โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” กับสมาคมเครื่องจักรกลไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนา วิจัย และสร้างนวัตกรรมในการผลิตเครื่องจักรไว้ใช้ภายในประเทศที่เป็นผลงานฝีมือคนไทย เพื่อทดแทนการลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

          วันที่ 26 กรกฎาคม 2567  – นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการบริหารจัดการโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า วิศวกรอาวุโส สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC สวทช.) – นายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน ผู้แทนกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สป.อว. – ดร.ชัชนันท์ ถนอมวรสิน นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย ร่วมกันแถลงข่าว “โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า”

          นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการ ผู้แทนหน่วยบริหารจัดการโครงการ กล่าวถึงที่มาของโครงการนี้ว่า ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ MTEC สวทช เรามีพัฒนากิจในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการทำวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยที่มีบุคลากรพร้อมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรามีความร่วมมือกับกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ซึ่งมีกรอบการทำงานที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งคือการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานประเทศองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือสถานปรับการศึกษา เพื่อการพัฒนาสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศ โดยจะต้องนำเสนอแง่มุมด้านความใหม่ อาจจะไม่จำเป็นต้องไม่ซ้ำใคร แต่สร้างโอกาสการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ด้วยโอกาสทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเหมาะสม ด้วยทุนงบประมาณไม่เกินกึ่งหนึ่งจากภาครัฐ และมีผู้ประกอบการมีส่วนร่วมอีกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งสมาคมเครื่องจักรกลไทยเป็นพันธมิตรที่ทำงานร่วมกับกระทรวงมาตั้งแต่กระทรวงวิทยาศาสตร์ จนเกิดเป็นกระทรวง อว ในฐานะหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการร่วมกลุ่มกันของสมาชิกด้านการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย ทั้งการผลิตเครื่องจักรเฉพาะด้านและการรับจ้างผลิตตามสั่งหรือ system integrators ก็ตาม สมาคมจัดเป็นหน่วยงานพันธมิตรที่สำคัญของโครงการในการร่วมพัฒนาผลงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากเดิมที่โครงการมีจุดเริ่มต้นจากการสนับสนุนให้พัฒนาผลงานด้วยวิศวกรรมย้อนรอย จนวันนี้ที่เน้นการพัฒนาผลงานด้วยการพัฒนาและต่อยอดเป็นวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า และมีโอกาสพัฒนาต่อไปเป็นรูปแบบที่ใหม่ขึ้นในยุคที่อุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัว หลังจาก industry 4.0 ยุคของ IoT ยุคแห่งการ disrupt technology และยุคแห่ง digital twin ที่เริ่มเข้ามามากขึ้น การพัฒนาจะไม่ใช่เพียงการลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย หาตลาดใหม่ เลือกว่าจะอยู่ในตลาด mass หรือ ตลาด niche แต่ต้องในองค์ประกอบของธุรกิจที่พร้อมลื่นไหลไปในยุคที่สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า เราพยายามสนับสนุนให้เกิดโอกาส และสนับสนุนให้ภาคส่วนที่สอดคล้องตามเงื่อนไขของโอกาสได้มีบทบาทในการสร้างประโยชน์ร่วมกับเราให้ได้มากที่สุดและอยากให้ติดตามผลงานของโครงการต่อไปครับ

          นายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน ผู้แทนกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กิจกรรมในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า คือการพัฒนาผลงานที่ต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นโดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว และเมื่อปรับเปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมกับชื่อสำนักที่เปลี่ยนเป็น กองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งกรอบการทำงานด้านพัฒนาผลงานที่จากเดิมประเทศไทยยอมรับว่าการพัฒนาผลงานทางวิศวกรรมด้วยนวัตกรรมฝีมือคนไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การ shortcut วิธีการด้วยการทำ copy and development หรือการทำ reverse engineering จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในช่วงแรก แต่ขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยนั้นมีการปรับตัวและนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่ตลอดนับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การผลักดันนวัตกรรมใหม่ ๆ ถูกนำเสนอออกมาอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ชาติในยุโรป และจนมาสู่ยุคที่จีนคือประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกันในบทบาทการสร้างนวัตกรรม เหล่านี้จึงเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาและต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาตเป็นหลักอย่างชาติในอาเซียน ต้องปรับตัว และในฐานะที่กระทรวง อว เราคือหน่วยงานภาครัฐ การสนับสนุนและส่งเสริม ทั้งในเชิงอุดหนุนงบประมาณ การสร้างพื้นที่เพื่อการนำเสนอ การผลักดันด้วยกลไกต่าง ๆ กิจกรรมที่เป็นการผลักดัน เช่นการจัดประกวดรางวัลเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมร่วมกับสมาคมเครื่องจักรไทย การจัดกิจกรรมการสนับสนุนด้วยทุนวิจัย การมีกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ การประกวดผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ และการนำหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมในกิจกรรมการพัฒนาแผนงานที่หวือหวาอย่าง hackaton เป็นต้น ในขณะที่การประกวด tedtalk หรือการ pitching ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้าง influencer หน้าใหม่แบบข้ามคืนก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจเช่นกัน จึงอยากให้ติดตามการทำงานของกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กปว สป อว ต่อไปครับ แต่ในกิจกรรมวันนี้ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดี และแสดงความขอบคุณต่อผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC สวทข ที่มีบทบาทการบริหารจัดการโครงการ การร่วมดำเนินงานในทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ดูแล้วมีคุณค่ามานำเสนอสู่ภาคการผลิต สร้างผลกระทบที่ดีแก่ประเทศ ขอบคุณสมาคมเครื่องจักรกลไทยที่รับงบประมาณสนับสนุนไปสร้างประโยชน์และพัฒนาเป็นผลงานที่เกิดขึ้นในวันนี้ ร่วมกับภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการไทย แต่มีแนบคิดที่น่าชื่นชมในการประยุกต์เอาวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นความตรงต่อเวลา ความถูกต้องและแน่นอนในทุกขั้นตอนการทำงานตามวิถีทางของประเทศญี่ปุ่นมาใช้อย่างบริษัท นางาซากิ คิคิ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้มีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาจไม่ได้กล่าวถึงในวันนี้ จึงขอแสดงความชื่นชน และขอบคุณอีกครั้งมา ณ โอกาส นี้ครับ

          ดร.ชัชนันท์ ถนอมวรสิน นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย กล่าวว่าสมาคมเครื่องจักรกลไทย เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบการไทยที่ผลิตเครื่องจักรทุกประเภท โดยสมาคมฯ มีความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงโครงการนี้ด้วย ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางกระทรวง อว. และทาง MTEC สวทช. ที่ไว้วางใจและสนับสนุนทุนงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาสร้างเครื่องจักรในวันนี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานพันธมิตรที่ดีต่อกันเสมอมา และขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของผู้ประกอบการทั้ง 7 บริษัท 9 โครงการ

สมาคมเครื่องจักรกลไทย เรามีความพร้อมทั้งด้านสมาชิกฯ ที่มีความหลากหลาย และเทคโนโลยีที่พัฒนาพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่ต้องปรับตัว และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับท่านที่สนใจเครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/หุ่นยนต์ หรือแม้กระทั่ง เครื่องจักรเฉพาะทางตามโจทย์หรือการแก้ปัญหา ก็สามารถติดต่อมาที่สมาคมเครื่องจักรกลไทยได้ครับ หรือดูข้อมูลเบื้องต้นได้ทางเว็ปไซต์สมาคมฯ www.thai-machinery.or.th ครับ

ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องจักรกลต้นแบบที่นำมาแถลงข่าวในวันนี้ 9 ผลงาน ดังนี้        

  1. เครื่องผลิตสีน้ำขนาดเล็กกำลังการผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง
  2. เอไอแพลตฟอร์มสำหรับงานด้านเทคโนโลยีการผสมของเหลว
  3. Abot หุ่นยนต์เก็บเกี่ยวพืชไร่
  4. เครื่องกัดและเจาะ EDM แบบ 5 แกน
  5. ระบบการวัดความยาวความแม่นยำสูงด้วยเลเซอร์
  6. ชุดต้นแบบรถนำทางและรถเดินตามแบบเคลื่อนที่แบบอิสระสำหรับอุตสาหกรรม 4.0
  7. เครื่องฟลูอิดไดซ์เบดแกรนูลเลเตอร์
  8. เครื่องผสมแกรนูลชนิดความเร็วสูง
  9. เทคโนโลยีดิจิตอลกับการบริหารขยะโรงพยาบาล

ข้อมูลเครื่องจักรต้นแบบเพิ่มเติม  คลิก

ประมวลภาพการแถลงข่าว

You may also like

สมาคมเครื่องจักรกลไทย

ข่าวสารและกิจกรรม

เกี่ยวกับเรา

Copyright © 2023  Thai-Machinery. All Right Reserved.